ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร (AEC)
COUNTDOWN WIDGET
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก (อย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว)
การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆเล่าให้ฟังแบบง่ายๆคือ
-การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีลำบาก
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก)
-การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ
-เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากมาย เนื่องจากจะมีคนอาเซียน ป้วนเปี้ยนในไทยมากมายไปหมด และเค้าจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ โดยป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิดิ่) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่ปัญหาสังคมจะเพิ่มขึ้นแทน อันนี้รัฐบาลควรระวัง
-คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมากๆ คอยดูดิ่ แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
-อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น
-สาธารณูปโภคในไทย หากเตรียมพร้อมไม่ีดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลใไทยเป็นต้น
-กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น ก็เป็นได้ รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ดีที่อาจสร้างเพิ่มได้)
-ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง กระกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก
-ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างๆชาติที่ด้อยกว่าอาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรงสถติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
แล้ว AEC จะพัฒนาไปถึงระดับเดียวกับ Euro zone ได้หรือไม่
น่าจะเป็นไปได้ยากเนื่องจาก ภูมิประเทศของ ASEAN ไม่เอื้ออำนวยมากนักเพราะหลายๆประเทศก็มีพื้นที่ห่างกัน และรายได้ต่อหัวของประชากรนั้นก็ต่างกันมาก เช่น สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 40,000 USD/year ซึ่งต่างจากประเทศพม่าซึ่งมีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 500 USD/year เท่านั้น ซึ่ง AEC ยังคงต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะก้าวไปถึงจุดนั้น
น่าจะเป็นไปได้ยากเนื่องจาก ภูมิประเทศของ ASEAN ไม่เอื้ออำนวยมากนักเพราะหลายๆประเทศก็มีพื้นที่ห่างกัน และรายได้ต่อหัวของประชากรนั้นก็ต่างกันมาก เช่น สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 40,000 USD/year ซึ่งต่างจากประเทศพม่าซึ่งมีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 500 USD/year เท่านั้น ซึ่ง AEC ยังคงต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะก้าวไปถึงจุดนั้น
หากต้องการ อ่านบทความอื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)หรือ “อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า
อาเซียนมีพื้นที่ ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ.2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของชาติสมาชิกรวมกัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก เมื่อเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวม
สมาชิกจำนวน 10 ประเทศดังกล่าวได้รวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” อันประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน 3 เสาหลัก (Pillars) คือ
(1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN PoliticalSecurity Community : ASC)
(2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC)และ
(3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
(2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC)และ
(3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC) มีเป้าหมายของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือ ภายในอาเซียนอย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี พ.ศ.2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคารสุขภาพ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม จึงเป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของประเทศไทย ที่จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่จะมีการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มในภูมิภาค (Regional Value Chain) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการขยายตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 590 ล้านคน
การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 จะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยและประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน และเงินลงทุนที่เสรีมากขึ้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
Comments
Post a Comment